สำหรับบริษัท
ทำ Portfolio อย่างไรให้ถูกเรียก สัมภาษณ์งาน ไม่ถูกปัดตก

ทำ Portfolio อย่างไรให้ถูกเรียก สัมภาษณ์งาน ไม่ถูกปัดตก

23 มกราคม 2567

ทำ Portfolio อย่างไรให้ถูกเรียก สัมภาษณ์งาน ไม่ถูกปัดตก

23 มกราคม 2567

       เชื่อว่าคนทำงาน หรือคนหางานหลายๆคนอาจจะกำลังสงสัย และมีคำถาม ว่าเหตุใด ตัวของเราที่เข้าเว็บหางานทำซักกี่เว็บ เข้าเพจรับสมัครงานซักกี่ที่ จะส่งสมัครงานไปซักกี่ครั้ง ก็ไม่มีบริษัท หรือองค์กรไหนเลยที่ติดต่อกลับมาเรียกสัมภาษณ์งานเลย เหตุผลหนึ่งที่คนทำงานหลายคนอาจไม่ทราบเลยก็คือ การทำ Porfolio สะสมผลงานนั่นเอง วันนี้ เว็บหางาน Jobmyway จึงอยากพาคนทำงานทุกคนไปดูทริก การทำ Portfolio อย่างไรให้ถูกเรียก สัมภาษณ์งาน และแน่นอนว่าเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะถูกคัดเลือกเข้าทำงานในองค์กรที่ต้องการได้มากขึ้น จะมีเทคนิคอะไรบ้าง ตามเราไปดูกันเลย


ทำไมการทำ Portfolio ถึงสำคัญกับการ สัมภาษณ์งาน


1.ช่วยให้องค์กรรู้จักตัวตนของผู้สมัครงานมากขึ้น
สิ่งแรกของประโยชน์ในการทำพอร์ตสะสมผลงานเลยก็คือ การที่ช่วยให้องค์กรสามารถรู้จักตัวตนของผู้สมัครงานมากขึ้น ผ่านรูปเล่ม หรือไฟล์ของพอร์ตสะสมผลงานเหล่านั้น ผู้รับสมัครงานจะได้เห็นตั้งแต่ความเรียบร้อยในการทำรูปเล่ม การจัดวาง ฟอนต์ที่ใช้ สีที่ใช้ในพอร์ตผลงาน การเรียงลำดับ จัดระเบียบเนื้อหาผลงานต่างๆ ว่ามีความเรียบร้อยหรือไม่ นั่นแปลได้ว่า ตัวตนของผู้สมัครงานจะเป็นคนแบบไหน หรือแม้แต่ การออกแบบดีไซน์พอร์ตสะสมผลงานที่ออกมานั้น มีความเหมาะสมกับสายงานที่ส่งใบสมัครงานไปหรือไม่ เช่น ถ้าหากคุณเป็นผู้สมัครงาน ในสายงานศิลปะ การออกแบบ ก็ควรเลือกใช้การออกแบบพอร์ตสะสมผลงานที่มีดีไซน์ที่สวยงาม มีความทันสมัย หรือมีสีสันที่โดดเด่น ส่วนคนสมัครงานที่ทำงานอยู่ในสายงานที่ต้องเน้นการใช้ความน่าเชื่อถือ อย่างอาชีพทนาย นักบัญชี หรือครู ก็อาจต้องเลือกใช้การออกแบบ Portfolio ที่มีความเรียบหรู เน้นความสะอาดตา อ่านง่าย และเป็นทางการมากกว่าเป็นต้น


2.Portfolio ช่วยให้องค์กรมองเห็นความสามารถของผู้สมัครงาน
สิ่งต่อมาที่องค์กรจะมองเห็น และช่วยให้การเข้าเว็บหางานทำ และสมัครงานของคุณไม่เสียเปล่าเลยก็คือ การที่พอร์ตสะสมผลงาน ช่วยให้องค์กร มองเห็นความสามารถในการทำงานของผู้สมัครงาน ว่าผู้สมัครงานมีความสามารถในการทำงานด้านใดบ้าง มีสิ่งใดที่โดดเด่นบ้าง ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และเพิ่มความมั่นใจให้กับองค์กร ซึ่งจะเป็นการการันตีได้ว่า ผู้สมัครงานคนนี้ สามารถทำงานได้จริง และสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเอง


3.ช่วยให้เห็นประสบการณ์ในการทำงาน
นอกจากองค์กรจะสามารถมองเห็นความสามารถของผู้สมัครงานแล้วนั้น การมีพอร์ตสะสมผลงาน หรือแม้แต่เรซูเม่ ก็จะช่วยให้องค์กรได้มองเห็นถึงประสบการณ์ในการทำงานของผู้สมัครงานได้มากขึ้น ว่ามีประสบการณ์ในการทำงานในตำแหน่งใดบ้าง บริษัทใดบ้าง และมีประสบการณ์มาแล้วกี่ปี หรือแม้กระทั่ง ถ้าหากคุณเป็น First Jobber หรือเป็นเด็กจบใหม่ การส่งพอร์ตสะสมผลงาน ก็จะช่วยให้องค์กรมองเห็นถึงประสบการณ์ในการฝึกงานในที่ต่างๆได้เป็นอย่างดี


4.เพิ่มโอกาสในการถูกคัดเลือกเข้าสัมภาษณ์งาน
การยื่นสมัครงานไปพร้อมกับจดหมายสมัครงาน เรซูเม่ประวัติส่วนตัว และพอร์ตสะสมผลงาน เป็นสิ่งที่ผู้สมัครงานทุกคนควรทำ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกคัดเลือกเข้าสัมภาษณ์งาน และถูกคัดเลือกเข้าทำงานได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในการเปิดรับสมัครงานแต่ละครั้ง ก็จะมีจำนวนผู้เข้าสมัครงาน และต้องการทำงานในตำแหน่งงานนั้นๆเป็นจำนวนมาก ถ้าหากคุณส่งใบสมัครงานไปเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีเรซูเม่ หรือพอร์ตสะสมผลงาน ก็อาจทำให้รายชื่อของคุณถูกปัดตกลงไปอย่างน่าเสียดาย การสร้างพอร์ตสะสมผลงานจะช่วยการันตีให้องค์กรได้เข้าใจ และรับรู้ถึงความสามารถของคุณได้มากขึ้นนั่นเอง


5.ช่วยให้ผู้รับสมัครตัดสินใจคัดเลือกได้ง่ายขึ้น
การทำ Portfolio จะช่วยให้ผู้รับสมัครงาน หรือองค์กรสามารถตัดสินใจคัดเลือกคนทำงานเข้าทำงานได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากจะได้เห็นผลงาน ประสบการณ์ และความสามารถต่างๆจากผู้สมัครงานได้ทันที ซึ่งถ้าคุณมีความสามารถ และมีผลงานที่ตรงใจกับองค์กรนั้นๆ เชื่อได้เลยว่าจะต้องถูกเรียกเข้าสัมภาษณ์งาน และเรียกเข้าทำงานโดยได้เงินเดือนที่ตรงใจของคุณอย่างแน่นอน



6.ช่วยให้องค์กรมองเห็นทักษะของผู้สมัครงาน

นอกจากองค์กรจะสามารถมองเห็นถึงความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานของผู้สมัครงานแล้ว ยังสามารถมองเห็นได้ถึงทักษะในการทำงานได้ดี ไม่ว่าจะเป็น Soft Skill หรือ Hard Skill ซึ่งสองสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการทำงานในทุกๆหน้าที่ และในทุกๆองค์กรนั่นเอง เช่น ถ้าหากคุณมีทักษะ Hard Skill ที่ครบตามความต้องการขององค์กร ก็จะช่วยให้การทำงานของคุณประสบความสำเร็จ และสามารถจบงานได้อย่างราบรื่น ลดโกาสในการเกิดปัญหาในการทำงาน และทักษะ Soft Skill จะช่วยให้การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการทำงานในองค์กร หรือการติดต่อกับบุคคลอื่น เป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย และช่วยผลักดันองค์กรให้ประสบความสำเร็จนั่นเอง


เทคนิคการทำพอร์ตสะสมผลงานให้ถูกเรียกสัมภาษณ์งาน


1.ทำพอร์ตสะสมผลงานให้เหมาะกับสายงาน
ขั้นตอนแรกในการทำพอร์ตสะสมผลงาน ให้เตะตาผู้สัมภาษณ์งานเลยก็คือ การเลือกใช้รูปแบบความสวยงาม ให้เหมาะกับสายงานที่ทำ เพราะไม่ใช่ว่า ดีไซน์ของพอร์ตสะสมผลงานจะเหมาะกับผู้สมัครงานทุกคน เช่น ถ้าหากคุณต้องการทำงานในสายงานที่ต้องการความน่าเชื่อถือ ก็ควรหลีกเลี่ยงการเลือกใช้ดีไซน์ของพอร์ตสะสมผลงานที่มีสีสันฉูดฉาด มีการใส่รูปที่ไม่เป็นทางการ หรือใช้ฟอนต์ที่ดูไม่เป็นทางการ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้รับสมัครงานมองว่า ผู้สมัครงานไม่เหมาะกับการทำงานในสายงานเหล่านี้ และอาจทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพ จึงควรเลือกการออกแบบพอร์ตสะสมผลงาน ที่มีความเรียบหรู ดูสะอาดตา อ่านง่าย เลือกใช้สีสันที่ไม่ฉูดฉาด และเลือกใช้ฟอนต์ที่เป็นทางการ ในทางกลับกัน ผู้สมัครงานที่ต้องการสมัครงานในตำแหน่งที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การเลือกรูปแบบพอร์ตสะสมผลงานที่ดูเรียบจนเกินไป อาจทำให้ดูน่าเบื่อ และไม่สะดุดตานั่นเอง


2.จัดเรียงเนื้อหาให้ดี

สิ่งต่อมาที่ควรทำเลยก็คือ การจัดเรียงเนื้อหา ประสบการณ์ในการทำงาน หรือผลงานของคุณให้ดี โดยอาจเริ่มจากการรวบรวมข้อมูล ผลงานต่างๆเอามาไว้ในที่เดียว แล้วค่อยๆคัดเลือก และเรียงลำดับผลงานต่างๆออกมาให้เป็นระเบียบ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถจัดการ และเรียงลำดับข้อมูลผลงาน ประสบการณ์ในการทำงานของคุณได้ดีขึ้น และช่วยให้ผู้รับสมัครงานสามารถอ่าน และดูผลงานได้ง่ายขึ้นนั่นเอง


3.เลือกผลงานที่โดดเด่นและภาคภูมิใจ
สิ่งสำคัญต่อมาเลยก็คือ การคัดเลือกผลงานที่มีความโดดเด่น และมีความภาคภูมิใจเอาไว้อันดับต้นๆ เนื่องจาก การเปิดรับสมัครงานในแต่ละครั้ง Hr หรือผู้รับสมัครงาน อาจต้องอ่านจดหมายสมัครงาน และดูพอร์ตสะสมผลงานจากผู้สมัครเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจต้องใช้การเปิดดูผลงานของแต่ละคนแบบผ่านๆ การคัดเลือกข้อมูลการทำงาน ที่มีความโดดเด่น และมีความภาคภูมิใจเอาไว้อันดับต้นๆ จะช่วยให้ผู้รับสมัครมองเห็นถึงความสามารถของผู้สมัครงานได้ง่ายขึ้น และเพิ่มโอกาสในการถูกเรียกสัมภาษณ์งานได้มากขึ้นนั่นเอง


4.อย่าลืมความสวยงามและความสะอาดตา
สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ในการทำ Portfolio เลยก็คือ ความสวยงามและความสะอาดตาของรูปเล่ม หรือไฟล์ของพอร์ตเหล่านั้น เพราะจะช่วยให้ผู้รับสมัครงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น อ่านข้อมูลได้ง่ายขึ้น


5.จัดทำเป็นรูปเล่ม และไฟล์ออนไลน์
การทำพอร์ตสะสมผลงาน ในยุคปัจจุบัน แค่การทำรูปเล่มเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ จึงควรมีไฟล์ที่อัปโหลดลงในไดรฟ์ออนไลน์ติดเอาไว้ เพื่อใช้ในการส่งสมัครงานตามเว็บไซต์สมัครงานต่างๆนั่นเอง

       ก็จบลงไปแล้วสำหรับบทความ ทำ Portfolio อย่างไรให้ถูกเรียก สัมภาษณ์งาน ไม่ถูกปัดตก ที่เว็บไซต์ Jobmyway ได้นำมาให้คนหางานที่ไม่ว่าจะเป็น First Jobber หรือคนทำงานที่ต้องการหางานใหม่ ได้นำไปทำพอร์ตสะสมผลงาน เพื่อเพิ่มโอกาสในการถูกเรียกสัมภาษณ์งาน และเพิ่มโอกาสในการได้งานตรงใจ เงินเดือนที่ถูกใจได้อย่างแน่นอน ในครั้งหน้า เราจะพาคุณไปชมบทความดีๆอะไรอีก อย่าลืมติดตามบทความจาก Jobmyway กัน

อ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆได้ที่นี่

ลงประกาศ รับสมัครงาน work from home กับแบบ Hybrid ต่างกันอย่างไร การทำงานแบบไหนเหมาะกับบริษัทของคุณ
20 โปรแกรมสุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้งานของคุณปังมากขึ้น
10 เทคนิค สมัครงาน work from home ยังไงให้ได้งานชัวร์
25 เทคนิคสมัครงานให้ได้งาน ในคนอายุ 35+
วิธีการสร้างตัวตนให้โดดเด่น ให้เข้าตาบริษัท



TAGS : บทความผู้หางาน , อัพเดตตำแหน่งงาน , jobmyway , เคล็ดลับทำงาน , สัมภาษณ์งาน , Portfolio , งานมาแรง , สมัครงาน work from home , รับสมัครงาน work from home , หางานใกล้บ้าน , สมัครงานใกล้บ้าน

บทความที่ได้รับความนิยม
งานที่น่าสนใจ